วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

Total Physical Response (TPR)

ผู้เรียนจะต้องเรียนภาษาในบริบทที่มีความสนุกสนาน และมีเครียดน้อยที่สุด
ซึ่งจะใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย

ลักษณะพิเศษ...
1.  ครูทำหน้าที่กำกับ นักเรียนเป็นนักแสดง โดยใช้ท่าทางประกอบภาษานั้นๆ
2.  ฟังและตอบสนองภาษาด้วยท่าทางร่างกาย
3.  ภาษาคำสั่ง มีลักษณะขึ้นต้นด้วยคำกริยา
4.  ถ้ามีโอกาส ครูจะต้องใส่มุขขำๆลงไปเวลาสั่ง
5.  นักเรียนจะไม่พูดจนกว่าจะพร้อมแสดงออกมา
6.  เน้นไวยกรณ์ คำศัพท์ เน้นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน


ขั้นตอนการสอน
1.  ครูออกคำสั่งเป็นภาษาเป็นภาษาเป้าหมาย และทำท่าทางพร้อมนักเรียน
2.  นักเรียนอาสา
3.  เมื่อเด็กเข้าใจแล้ว ก็เพิ่มคำสั่งใหม่
4.  สั่งคำสั่งที่เด็กไม่เคยได้ยินมาก่อน
5.  เขียนคำสั่งบนกระดาน


เทคนิคการสอน
1.  ใช้คำสั่ง
2.  สลับบทบาท
3.  ใช้คำสั่งที่มีเป็นลำดับขั้นตอน


The Silent Way

เป็นวิธีการสอนแบบเงียบๆ
เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเรียนรู้และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ซึ่งการเงียบ
 แสดงว่าผ้เรียนกำลังมีกระบวนการคิดอยู่


ขั้นตอนการสอน
1.  สอนการออกเสียง โดยใช้ Sound-Color-Chart
2.  สอนการสร้างคำ โดนใช้ Rods (แท่งไม้สี่เหลี่ยม)
3.  อ่านและเขียนประโยค


เทคนิคการสอน
1.  Sound-Color-Chart
2.  ครูเงียบ
3.  ให้เพื่อนแก้ไขให้
4.  Rods (แท่งไม้สี่เหลี่ยม)
5.  ใช้ท่าทางในการบอกใบ้
6.  Word Chart คำที่มีสีแตกต่างกัน ใช้สีแทนเสียงต่างๆ
7.  ให้ข้อมูลย้อนกลับ


Audiolingual Method (ALM)

ลักษณะพิเศษ...
1.  สื่อบทเรียนเป็นแบบสนทนา
2.  เรียนแบบเข้มข้น เน้นท่องจำ
3.  โครงสร้างถูกจัดเรียงแบบง่ายๆ เรื่องไหนที่เกี่ยวข้องจะสอนทีเดียวเลย
4.  โครงสร้างไวยกรณ์ สอนโดยการฝึกแบบซ้ำๆ
5.  ดูตัวอย่างประโยค แล้วค่อยอธิบาย
6.  รู้คำศัพท์แบบจำกัด ขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ
7.  ใช้เครื่องมือเกี่ยวกับการฟัง ในการเรียนรู้
8.  การออกเสียงสำคัญอย่างยิ่ง
9.  ใช้ภาษาแม่ แต่น้อยมาก
10. ครูจะพูดเสริมแรง
11.  ต้องให้เด็กพูดไม่ผิดไวยกรณ์
12. ใช้ภาษาสอดคล้องกับเนื้อหา


ขั้นตอนการสอน
1.  ให้นักเรียนฟังบทสนทนา
2.  ให้เด็กว่าตามหลายๆครั้ง
3.  ฝึกพูดประโยค
4.  ฝึกบทสนทนาพร้อมกันทั้งห้อง, เป็นกลุ่ม, เป็นคู่, เป็นรายบุคล
5.  นำบทสนทนามาใส่ข้อมูลของตัวเราเอง


เทคนิคการสอน
1.  จดจำบทสนทนา
2.  ฝกจาหลัง มาหน้า
3.  ฝึกแบบซ้ำๆ
4.  สอนแบบลูกโซ่ คือถามต่อไปเรื่อยๆ
5.  เปลี่ยนคำศัพท์เป็นคำอื่นบ้าง
6.  เปลี่ยนประโยค เป็นประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม
7.   ฝึกการถาม-ตอบ
8.  ฝึกออกเสียงคำที่ใกล้เคียง
9.  เติมคำในบทสนทนาให้สมบูรณ์

The Direct Method (natural method)

นักปฏิรูปเชื่อว่า....
1.  ภาษาพูดต้องมาก่อน
2.  เชื่อในการสอนออกเสียง
3.  ผู้ฟังจะต้องฟังตัวภาษาก่อนที่จะเห็นตัวภาษา
4.  คำที่สอนต้องอยู่ในรูปประโยค
5.  ฝึกบริบทที่มีความหมาย
6.  สอนแบบอุปมัย ไม่แปลให้ และให้เด็กอธิบาย


เป้าหมายหลัก
1.  การเรียนการสอนใช้ภาษาเป้าหมายล้วนๆ
2.  เน้นคำศัพท์/ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3.  ฝึกการพูดโดยการถาม-ตอบ
4.  สอนแบบอุปมัย
5.  เมื่อเริ่มสอนประเด็นใหม่ ต้องนำเสนอด้วยวาจา
6.  คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมต้องใช้สาธิต
7.  สอนเรื่องการฟัง พูด
8.  เน้นการออกเสียงไวยกรณ์ให้ถูกต้อง และแม่นยำ


ขั้นตอนการสอน
1.  ฟังและอ่าน : บทสนทนา
2.  สอนคำศัพท์โดยการใช้ภาษาเป้าหมาย
3.  ฝึกการอออกเสียง
4.  ตรวจสอบความเข้าใจโดยการใช้คำถาม
5.  สอนหลักไวยกรณ์แบบอุปมัย
6.  ทำแบบฝึกหัด, เติมคำ, เขียนตามคำบอก


เทคนิคการสอน
1.  อ่านออกเสียง
2.  ถาม-ตอบคำถาม
3.  แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง
4.  ฝึกบทสนทนา
5.  ทำแบบฝึกหัดโดยการเติมคำในช่องว่าง
6.  เขียนตามคำบอก
7.  วาดแผนที่
8.  เขียนย่อหน้า





Richards, J.C. & Rogers, T.S., 1989
สุมิตรา  อังวัฒนกุล , 2539

Gramma Translate Method

เป้าหมายหลัก

1.  มีเป้าหมายในการเรียนรู้ภาษาจากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์
2.  อ่านและเขียนได้ (ไม่เน้นการฟัง พูด)
3.  สามารถเขียนคำศัพท์จากบทความที่อ่านได้
4.  สามารถเขียนเป็นประโยคพื้นฐานได้
5.  มีความถูกต้องแม่นยำ
6.  มีการสอนแบบนิรนัย คือให้โครงสร้างก่อน แล้วจึงให้ดูตัวอย่าง
7.  สามารถใช้ภาษาแม่ในการสอนได้


ขั้นตอนการสอน
1.  สอนคำศัพท์
2.  เรียนโครงสร้างไวยกรณ์ จากการทำแบบฝึกหัด
3.  อ่านแล้วตอบคำถามเพื่อความเข้าใจ
4.  การประเมินจาก การบ้าน ท่องจำ เขียน และแปล


เทคนิคการสอน
1.  การแปลบทอ่าน
2.  อ่านแล้วตอบคำถามเพื่อความเข้าใจ
3.  คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือน/ต่าง
4.  บอกโครงสร้างหลักต่างๆ
5.  เติมคำในช่องว่าง
6.  ท่องจำคำศัพท์
7.  ใช้คำแต่งประโยค
8.  ความเรียง/เรียงความ



สุมิตรา  อังวัฒนกุล , 2539

ประวัติโดยย่อของการสอนภาษา

ประวัติ


---เริ่มต้นจากภาษาลาตินเมื่อ 500 ปีที่แล้ว  และในศตวรรณที่16  ก็เริ่มมีภาษาต่างๆเข้ามา  ได้แก่ ภาษาอังกฤษ  ภาษาฝรั่งเศส  และภาษาอิตาลี  ซึ่งในศตวรรษที่16  ถึง  ศตวรรษที่19  เน้นการสอนไวยากรณ์ การแปล  การฝึกเขียนประโยค  เรียกการสอนแบบนี้ว่า "grammar  schools"
---ในศตวรรษที่ 18  เริ่มที่จะเปลี่ยนแนวการสอนแบบทันสมัยขึ้น  ซึ่งจะเน้นการอ่านและการเขียนมากขึ้น


เป้าหมายหลัก

1. พัฒนาสติปัญญา โดยเน้นการอ่าน และการเขียน
2. เน้นการอ่านและการเขียน (ฟัง พูดไม่สำคัญ)

3. เน้นศัพท์
4. เน้นแปลประโยคให้ถูกต้อง
5. เน้นความถูกต้อง ไม่เน้นความคล่อง
6. สอนไวยกรณ์แบบบอกโครงสร้างก่อน แล้วตามด้วยประโยคตัวอย่าง
7. มีวิธีการสอนโดยการใช้ภาษาแม่



Richard, Jack  C.& Rogers, Theodore  S.  1989.  Approaches  and  Methods  in  Langage     Teaching. Cambridge: Cambridge  University  Press.